วิกฤติโรคระบาดที่เกิดขึ้น ร้านอาหารทุกประเภท ต่างก็หันมาให้บริการแบบเดลิเวอรี่แทน แต่สำหรับร้านอาหารในแบบบุฟเฟต์ คงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะปรับตัวเร็วขนาดนั้นหรือต่อให้จะปรับตัวมาให้บริการโดยเร็วพวกเขาเหล่านั้น ก็เจอความท้าทายที่ยากแก่การปรับปรุง อยู่ดี..เดือนมีนาคมที่ผ่านมา ร้านอาหารชั้นนำหลายร้านทั้งในและต่างประเทศ ต่างก็เรียงแถวหยุดให้บริการยาว ๆ อย่างไรก็ตาม ในภาพรวมของอุตสาหกรรมร้านอาหารในไทย มีการคาดการณ์ไว้ล่วงหน้าว่า
* ร้านอาหารที่ให้บริการแบบ Full Serviceคือ ให้บริการเฉพาะหน้าร้าน จะได้รับผลกระทบรุนแรงสุดยอดขายอาจตกไปเป็นมูลค่าราว 2.28 หมื่นล้านบาทเมื่อเทียบกับต้นปี 2563
* ร้านอาหารที่มีบริการจำกัด ให้บริการเดลิเวอรี่ร่วมด้วยอาจมีการหดตัวของยอดขายน้อยกว่าแบบ Full Service คิดเป็นมูลค่ายอดขายที่ลดลงราว 7.2 พันล้านบาท
* ร้านอาหารที่ให้บริการเดลิเวอรีโดยตรง หรือร้านข้างทางที่ซื้อกลับบ้าน อาจได้รับผลกระทบน้อยสุด รายได้อาจหดตัวลงไปราว 1.5 พันล้านบาทอย่างไรก็ตาม
เมื่อร้านปิดทำการลง ไม่ได้ส่งผลกระทบแค่ผู้ประกอบการและบุคลากรในร้านเท่านั้นแต่ส่วนอื่นที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นผู้ให้บริการวัตถุดิบ ผู้ให้บริการขนส่ง รวมไปถึงส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องก็ได้รับผลกระทบตามไปด้วยต่อให้ผู้ประกอบการปรับกลยุทธ์มาให้บริการแบบเดลิเวอรี่ นั่นก็เป็นเพียงแค่ทางออกทางหลักที่จำเป็นจะต้องนำเงินมาหมุนในร้านแค่นั้นเองถึงแม้จะมีความต้องการรับอาหารเดลี่เวอรี่มากแค่ไหนแต่ผู้ประกอบการก็ต้องหักเปอร์เซ็นต์ให้กับคู่ค้า เป็นสัดส่วน 30-35% อยู่ดี และยิ่งเป็นร้านบุฟเฟต์ ยิ่งต้องบวกค่าบริการด้านอื่น ๆ เข้าไป ไม่ว่าจะเป็นหม้อ เตาย่างไฟ อาหารแช่แข็ง ตามมาด้วยค่าแพ็คเกจจิ้งที่ต้องจ่าย ยิ่งเพิ่มต้นทุนในการประกอบการมากขึ้นไปอีกนอกจากนี้ ยังต้องปรับกลยุทธ์ให้เข้ากับผู้บริโภคที่ต่อให้พวกเขาจะมีความต้องการมากแค่ไหนแต่ Painpoint หลัก ๆ คือ..ผู้บริโภคเหล่านั้นไม่ได้นั่งกินในร้านที่มีวัตถุดิบให้เลือกมากมาย และมีการให้บริการที่หลากหลายมากกว่าจึงเป็นข้อแก้ไขให้ผู้ประกอบการ จัดแพคเกจรองรับที่เข้าถึงลูกค้ามากที่สุดรองรับ Painpoint ดังกล่าวหรือในการตัดสินใจ ที่ผู้บริโภคอาจจะมีทางเลือกในรูปแบบอื่นง่ายกว่า เพียงแค่จิ้มหน้าจอก็สามารถเปลี่ยนใจได้แล้วเพราะฉะนั้น กลยุทธ์ของผู้ประกอบการบุฟเฟต์ยิ่งต้องเด็ดขาดและดึงดูดลูกค้ามากกว่าเดิมแต่ในข้อดีที่อาจจะเรียกลูกค้าได้ไม่เบาเลย ก็คือ..
เมื่อผู้คนกักตัวเป็นเวลานาน พวกเขาก็อาจจะห่างจากอาหารบุฟเฟต์มาเป็นเวลานานเช่นกันเชื่อได้เลยว่า หลายคนอาจจะคิดถึงรสชาติของเบค่อนจิ้มกับน้ำจิ้ม หรือกุ้งที่เคยแกะจิ้มกับซีฟู้ดไปจนถึงรสชาติของหมูกระทะและชาบู
ที่เคยนั่งกิน เมื่อหลายสัปดาห์ก่อนถ้าหากผู้ประกอบการมองเห็นกลยุทธ์ในช่วงวิกฤตินี้ก็อาจเปลี่ยนช่วงเวลาวิกฤติ มาเป็นเวลาทองได้เลยอย่างไรก็ตาม เมื่อโคโรนาจากไปธุรกิจร้านอาหารอาจจะเปลี่ยนแปลงการให้บริการไปในรูปแบบเดลิเวอรี่มากขึ้นเพราะผู้คนจะคุ้นชินกับการทำกิจกรรมอยู่บ้านต่อให้จะต้องการทานบุฟเฟต์ร้านโปรดแค่ไหน ก็อาจจะมีความกังวลเรื่องของสุขอนามัยจนเกิดเป็นนิสัยที่ต้องระวังอย่างถาวรซึ่งร้านอาหารเองจะต้องมีการปรับกลยุทธ์
ให้เข้ากับ Painpoint ใหม่ ๆ มากขึ้นและนั่นจะนำไปสู่โมเดล “Ghost Kitchen”นั่นก็คือ..ร้านอาหารจะปรับกลยุทธ์โดยที่โต๊ะในร้านมีจำนวนน้อยลงแต่ในขณะเดียวกันจะมี “ครัว” ที่ใหญ่ขึ้นและตามมาด้วยจุดให้บริการสำหรับเมสเซนเจอร์เดลิเวอรี่ที่มากขึ้นกว่าเดิมซึ่งโดยปกติแล้ว โมเดล Ghost Kitchen ไม่จำเป็นจะต้องมีหน้าร้านก็ได้แต่สำหรับครัวถือเป็นหัวใจหลักสำคัญของโมเดลนี้การจัดการในครัวของผู้ประกอบการให้เพียงพอต่อการให้บริการรูปแบบเดลิเวอรี่จึงถือว่าสำคัญอย่างไรก็ตาม โมเดลดังกล่าว ได้รับความสนใจมาสักพักใหญ่ ๆ และมีเกิดขึ้นบ้างแล้วสำหรับผู้ประกอบการบางกลุ่ม ถ้าหากผ่านวิกฤตินี้ไป และโมเดลนี้ถูกปรับใช้เต็มรูปแบบเราจะได้เห็น..ร้านอาหารส่วนใหญ่ที่มีหน้าร้านอยู่บนโลกอินเทอร์เน็ต ครัวอยู่บนจอ GPS ตลอดจนบนถนนก็จะมีแต่รถให้บริการเดลิเวอรี่
เตรียมตัวของคุณให้พร้อม แล้วมาลุยไปด้วยกัน!!
ปรึกษาแฟรนซ์บิซ ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
Inbox / comment สอบถามมาได้เลยค่ะ
โทรฝ่ายขาย 094-494-2696 / 094-552-2253
Line Official Account: @franzbiz (มีแอด)
ID Line : franzbiz
Website: www.franzbiz.com