จ้างสำนักงานบัญชี ยังจำเป็นอยู่ไหม


4 เอกสารที่ผู้ประกอบการต้องจัดทำในการทำบัญชีเอง
1. ภาษีรายเดือน
เมื่อทำธุรกิจในรูปแบบนิติบุคคล และจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็มีหน้าที่จัดทำรายงานเกี่ยวกับภาษีต่างๆ
รวมถึงยื่นแบบภาษีแต่ละประเภทเหล่านี้ด้วย
แบบ ภ.พ. 30
เอกสารที่ใช้แนบแบบฟอร์มนี้ คือ รายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขายของเดือน
ซึ่งรวบรวมมาจากใบกำกับภาษีจากการซื้อและการขายสินค้า หรือให้บริการของเรา
ในส่วนของภาษีมูลค่าเพิ่มนี้หากยื่นแบบผิด หรือยื่นภาษีขาดไป ผลที่จะตามมาคือ เบี้ยปรับเงินเพิ่ม
โทษคือเบี้ยปรับ 2 เท่าของจำนวนภาษีที่ต้องชำระในเดือนนั้น และเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน
ภ.ง.ด. 3, ภ.ง.ด. 53
• เอกสารที่ใช้ประกอบการยื่นแบบ ภ.ง.ด. 3 และ ภ.ง.ด. 53 เรียกว่าใบแนบ ภ.ง.ด.
ซึ่งแสดงรายละเอียดของการหัก ณ ที่จ่าย ที่เราทำการหักไว้เมื่อทำการจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆ ให้ทั้งบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล
• เมื่อหักไว้แล้วก็มีหน้าที่ต้องนำส่งด้วย หากไม่ได้ยื่นแบบหรือนำส่งภาษีขาดต้องเสียค่าปรับแบบละ 200 บาท
และเงินเพิ่มอีก ร้อยละ 1.5 ของภาษีที่ไม่ได้นำส่งหรือนำส่งขาดต่อเดือน
ภ.ง.ด. 1 ภาษีหัก ณ ที่จ่ายสำหรับเงินเดือนและค่าจ้าง
• ประกอบกับใบแนบภ.ง.ด.1 ซึ่งแสดงรายละเอียดของการจ่ายเงินเดือนค่าจ้างที่แสดงการหัก ณ ที่จ่ายของบริษัท
ประกันสังคม
• หากบริษัทเรามีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไปต้องขึ้นทะเบียนเป็นนายจ้าง และขึ้นทะเบียนลูกจ้างเป็นผู้ประกันตน
2. ภ.ง.ด. 51 ภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี
สำหรับบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานกำไรสุทธิ
ต้องยื่นเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการประมาณการกำไรสุทธิโดยไม่ต้องปิดบัญชีครึ่งปี
3. ภ.ง.ด.50 ภาษีเงินได้นิติบุคคลสิ้นปี
สำหรับกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น ต้องได้รับการปรับให้ถูกต้องตามหลักกำไรทางภาษีให้เรียบร้อยก่อน
โดยนำรายการที่ไม่สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในทางภาษีบวกกลับ
และหากรายการใดสามารถนำมาหักออกได้ก็นำมาปรับปรุงด้วยเช่นกัน ซึ่งอาจทำให้กำไรทางบัญชี
และกำไรทางภาษีมีจำนวนไม่ตรงกันก็เป็นเพราะรายการเหล่านี้
4. รายงานงบการเงิน
ที่ผ่านการลงชื่อรับรองงบการเงินจากผู้เป็นหุ้นส่วนบริษัท (เจ้าของบริษัท) และผ่านการแสดงความคิดเห็นต่องบการเงิน
ของผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาต ทั้งนี้นอกจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแล้ว ยังต้องมีลายเซ็นของผู้ทำบัญชีซึ่ง
ต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีกับสภาวิชาชีพบัญชีอย่างถูกต้อง
หากดูจากเอกสารที่ยกมาทั้งหมด จะเห็นว่าต้องใช้ความชำนาญ และความรอบรู้ในเรื่องของบัญชีและภาษีพอสมควร
จึงจะสามารถจัดทำรายงาน รวมถึงการยื่นแบบเพื่อเสียภาษีต่างๆ ได้ด้วยตัวเอง
ซึ่งหากท่านมีโปรแกรมบัญชี และทำการจดบันทึกทั้งรายได้และค่าใช้จ่ายอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอแล้ว
ในส่วนของภาษีรายเดือนนั้นท่านสามารถจัดทำได้เอง
แต่มีวิธีที่ง่ายกว่านั้นก็คือ การให้ผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาชีพบัญชีเป็นผู้ทำแทน
ซึ่งนักวิชาชีพบัญชีเหล่านี้ก็มีให้บริการหลายแบบทั้งเป็นนักบัญชีอิสระ หรือเป็นสำนักงานบัญชี
หากต้องการที่ปรึกษาทางด้านบัญชี ปรึกษาแฟรนซ์บิซ ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
Inbox / comment สอบถามมาได้เลยค่ะ
โทรฝ่ายขาย 094-494-2696 / 094-552-2253
Line Official Account: @franzbiz (มีแอด)
ID Line : franzbiz
Website: www.franzbiz.com

4 เอกสารที่ผู้ประกอบการต้องจัดทำในการทำบัญชีเอง
1. ภาษีรายเดือน
เมื่อทำธุรกิจในรูปแบบนิติบุคคล และจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็มีหน้าที่จัดทำรายงานเกี่ยวกับภาษีต่างๆ รวมถึงยื่นแบบภาษีแต่ละประเภทเหล่านี้ด้วยครับ
แบบ ภ.พ. 30
เอกสารที่ใช้แนบแบบฟอร์มนี้ คือ รายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขายของเดือนซึ่งรวบรวมมาจากใบกำกับภาษีจากการซื้อและการขายสินค้า หรือให้บริการของเรา
ในส่วนของภาษีมูลค่าเพิ่มนี้หากยื่นแบบผิด หรือยื่นภาษีขาดไป ผลที่จะตามมาคือ เบี้ยปรับเงินเพิ่มครับ โทษคือเบี้ยปรับ 2 เท่าของจำนวนภาษีที่ต้องชำระในเดือนนั้น และเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนครับ
ภ.ง.ด. 3, ภ.ง.ด. 53
• เอกสารที่ใช้ประกอบการยื่นแบบ ภ.ง.ด. 3 และ ภ.ง.ด. 53 เรียกว่าใบแนบ ภ.ง.ด. ซึ่งแสดงรายละเอียดของการหัก ณ ที่จ่าย ที่เราทำการหักไว้เมื่อทำการจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆ ให้ทั้งบุคคลธรรมดา และนิติบุคคลครับ
• เมื่อหักไว้แล้วก็มีหน้าที่ต้องนำส่งด้วยนะครับ หากไม่ได้ยื่นแบบหรือนำส่งภาษีขาดต้องเสียค่าปรับแบบละ 200 บาทและเงินเพิ่มอีก ร้อยละ 1.5 ของภาษีที่ไม่ได้นำส่งหรือนำส่งขาดต่อเดือนครับ
ภ.ง.ด. 1 ภาษีหัก ณ ที่จ่ายสำหรับเงินเดือนและค่าจ้าง
• ประกอบกับใบแนบภ.ง.ด.1 ซึ่งแสดงรายละเอียดของการจ่ายเงินเดือนค่าจ้างที่แสดงการหัก ณ ที่จ่ายของบริษัทครับ
ประกันสังคม
• หากบริษัทเรามีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไปต้องขึ้นทะเบียนเป็นนายจ้าง และขึ้นทะเบียนลูกจ้างเป็นผู้ประกันตนครับ
2. ภ.ง.ด. 51 ภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี
สำหรับบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานกำไรสุทธิ ต้องยื่นเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการประมาณการกำไรสุทธิโดยไม่ต้องปิดบัญชีครึ่งปีครับ
3. ภ.ง.ด.50 ภาษีเงินได้นิติบุคคลสิ้นปี
สำหรับกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น ต้องได้รับการปรับให้ถูกต้องตามหลักกำไรทางภาษีให้เรียบร้อยก่อนครับ โดยนำรายการที่ไม่สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในทางภาษีบวกกลับ และหากรายการใดสามารถนำมาหักออกได้ก็นำมาปรับปรุงด้วยเช่นกัน ซึ่งอาจทำให้กำไรทางบัญชี และกำไรทางภาษีมีจำนวนไม่ตรงกันก็เป็นเพราะรายการเหล่านี้ครับ
4. รายงานงบการเงิน
ที่ผ่านการลงชื่อรับรองงบการเงินจากผู้เป็นหุ้นส่วนบริษัท (เจ้าของบริษัท) และผ่านการแสดงความคิดเห็นต่องบการเงินของผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาต ทั้งนี้นอกจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแล้ว ยังต้องมีลายเซ็นของผู้ทำบัญชีซึ่งต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีกับสภาวิชาชีพบัญชีอย่างถูกต้องด้วยครับ
หากดูจากเอกสารที่ยกมาทั้งหมด จะเห็นว่าต้องใช้ความชำนาญ และความรอบรู้ในเรื่องของบัญชีและภาษีพอสมควร จึงจะสามารถจัดทำรายงาน รวมถึงการยื่นแบบเพื่อเสียภาษีต่างๆ ได้ด้วยตัวเอง
ซึ่งหากท่านมีโปรแกรมบัญชี และทำการจดบันทึกทั้งรายได้และค่าใช้จ่ายอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอแล้ว ในส่วนของภาษีรายเดือนนั้นท่านสามารถจัดทำได้เอง
แต่มีวิธีที่ง่ายกว่านั้นก็คือ การให้ผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาชีพบัญชีเป็นผู้ทำแทนครับ ซึ่งนักวิชาชีพบัญชีเหล่านี้ก็มีให้บริการหลายแบบทั้งเป็นนักบัญชีอิสระ หรือเป็นสำนักงานบัญชี
หากต้องการที่ปรึกษาทางด้านบัญชี ปรึกษาแฟรนซ์บิซ ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
📫Inbox / comment สอบถามมาได้เลยค่ะ
☎️โทรฝ่ายขาย 094-494-2696 / 094-552-2253
📲 Line Official Account: @franzbiz (มีแอด)
ID Line : franzbiz
🧑💻 Website: www.franzbiz.com

ข่าวอื่นๆ

ROI TOOL คำนวนการคืนทุนเบื้องต้น

Total Investment งบลงทุนรวม (THB) Duration of the franchise agreement อายุสัญญา ( ใส่จำนวน ปี เช่น 3 )
Rental/ ค่าเช่า (THB)
Wage/ ค่าแรง (THB)
Material cost/ ต้นทุนวัตถุดิบ % (ใส่ค่าเป็นจำนวนเปอเซนต์ เช่น 40)
Others/ค่าใช้จ่ายอื่นๆ % ( ใส่ค่าเป็นจำนวนเปอเซนต์ เช่น 4 )
Monthly Revenue ยอดขายต่อเดือน (THB)

Payback Period ระยะเวลาคืนทุน:

My ROI is (ผลตอบแทนจากการลงทุน)

TOTAL INVESTMENT งบลงทุนรวม:
Monthly Revenue ยอดขายต่อเดือน:
Monthly Cost ต้นทุนรายเดือน:
Monthly Profit กำไรต่อเดือน:
Duration of franchise agreement อายุสัญญา:
Breakeven จุดคุ้มทุน:
ติดต่อที่ปรึกษาการลงทุนแฟรนไชส์

Line: @franzbiz
Call: 094-494-2696 / 094-552-2253