ธุรกิจแฟรนไชส์ พิชิต วิกฤติโควิด “สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้”

วิกฤติโควิด -19 ทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างทั้งในเรื่องของ การดำเนินชีวิต เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ล้วนเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก และผลกระทบที่เกิดขึ้นนั้นส่งผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนทุกระดับ การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดจึงเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายต้องหาทางช่วยเหลือและให้ความสำคัญเป็นลำดับแรก

คุณทศพล ทังสุบุตร อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ให้ข้อมูล ตลอดระยะเวลาที่เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทั้ง 3 ระลอกที่ผ่านมา มีประชาชนและภาคธุรกิจได้รับผลกระทบด้านต่างๆ จำนวนมาก ซึ่งนโยบายจาก คุณจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า นำธุรกิจแฟรนไชส์เข้ามาช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น รวมทั้งใช้ ‘สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้’ ซึ่งได้รับความสนใจทั้งจากผู้ที่ได้รับผลกระทบฯ และผู้ที่ต้องการเป็นเจ้าของกิจการ ได้นำธุรกิจแฟรนไชส์ไปสร้างความมั่นคงด้านอาชีพและรายได้เป็นจำนวนมาก

สิ่งทีสำคัญในสถานการณ์เช่นนี้ คือ การส่งกำลังใจและการสร้างแรงบันดาลใจในการทำธุรกิจแฟรนไชส์จากธุรกิจแฟรนไชส์ต้นแบบ เพื่อให้มีผู้สนใจประกอบธุรกิจและเกิดธุรกิจแฟรนไชส์เพิ่มขึ้น ดังนั้น กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จึงร่วมมือกับ สมาคมแฟรนไชส์และไลเซนส์ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM Bank) และ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) จัดการประกวด ‘รางวัลธุรกิจแฟรนไชส์ ประจำปี 2564’ หรือ งาน ‘Thailand Franchise Award 2021 : TFA 2021’ โดยปีนี้จัดขึ้นเป็นปีที่ 2 เพื่อคัดเลือกธุรกิจ แฟรนไชส์ไทยที่ประสบความสำเร็จ เป็นที่น่าเชื่อถือและที่รู้จักของคนทั่วไป รวมทั้ง มีระบบการบริหารจัดการธุรกิจที่ได้มาตรฐาน เข้ารับรางวัลฯ ดังกล่าว โดยธุรกิจฯ ที่ได้รับรางวัลจะได้รับโล่รางวัลพร้อมประกาศเกียรติคุณในฐานะต้นแบบธุรกิจแฟรนไชส์ไทย รวมถึง สิทธิการใช้ตราสัญลักษณ์ Thailand Franchise Award ในการประชาสัมพันธ์ธุรกิจ ได้รับการสนับสนุนการประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่างๆ ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ และสิทธิพิเศษการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และหน่วยงานพันธมิตร”

โดยในงานแถลงข่าวเปิดโครงการประกวด Thailand Franchise Award 2021 ปีนี้ก็ได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบการรุ่นพี่ที่ได้รับรางวัลจากปีที่แล้ว ได้มาให้ข้อมูล เทคนิค เคล็ดลับ ในการทำธุรกิจแฟรนไชส์ให้ประสบความสำเร็จ จนได้รับรางวัลอันทรงเกียรติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคนิคในการทำธุรกิจช่วงวิกฤติโควิด-19 ที่ทุกฝ่ายต้องใช้ความพยายามมากกว่าในสถานการณ์ปกติ



คุณชัยรัตน์ ภัทรพิทักษ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) แบรนด์สินค้า The Pizza Company ที่กวาดรางวัลมาถึง 3 รางวัลคือ สุดยอดแฟรนไชส์ไทยขนาดใหญ่ยอดเยี่ยม (BEST LARGE FRANCHISE), สุดยอดแฟรนไชส์ไทยอาหารยอดเยี่ยม (BEST FOOD FRANCHISE) และ สุดยอดแฟรนไชส์ไทย (FRANCHISE OF THE YEAR) ประจำปี 2563 ได้มาชวนคิดชวนคุยในเรื่อง ตลาดแฟรนไชส์ไทย ในยุคหลังโควิด-19 ว่าวิกฤติโควิด ได้ส่งผลกระทบทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของทั้งด้านผู้บริโภคและผู้ประกอบการอย่างไรบ้าง โดยให้ข้อมูลจากที่ได้เก็บข้อมูลมาในช่วงที่ผ่านมา ในส่วนที่เกี่ยวกับผู้บริโภคพบว่าได้มีการปรับพฤติกรรมมาเป็นการสั่งสินค้า Delivery และเน้นในเรื่องของความสะอาดถูกสุขลักษณะ Food Safety ที่ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัส หรือสัมผัสน้อยที่สุด Zero Touch และปรับเป็นแนวการทำอาหารทานเองที่บ้าน Home Dining ซึ่งผู้ประกอบการเมื่อเข้าใจพฤติกรรมทีเปลี่ยนไปแล้วนี้ ก็ต้องนำมาปรับการบริหารจัดการเพื่อให้สามารถตอบสนองพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภค เช่นเราต้องพิจารณาในเรื่องการลดขนาดของทุกอย่าง เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า เช่น จำนวน ปริมาณ ขนาดของpackaging ตลอดจนการเอาใจใส่ในเรื่องความสะอาด Sanitization ของกระบวนการผลิต การคัดเลือกวัตถุดิบ การจัดส่งจนถึงมือลูกค้า และเรื่องของการลดต้นทุนผลิต ถ้าใช้วัตถุดิบในประเทศได้ Local sourcing ก็จะช่วยให้เราอยู่รอด ที่สำคัญในเรื่องของ Branding ก็ต้องทำอย่างสม่ำเสมอในช่วงของ โควิด-19 ที่ทำให้เราต้อง Social Distancing แต่เราต้องสื่อสารออกมาถึงผู้บริโภคให้บ่อยขึ้น เพื่อให้รู้ว่าเรายังคงอยู่ ไม่เฉพาะแต่กับลูกค้าเท่านั้น กับพนักงานในองค์กร เราก็ต้องรักษาไว้ด้วย เรามีการพัฒนาสื่อสารฝึกอบรมผ่านเทคโนโลยี E-learning หรือ E-meeting ให้ทุกฝ่ายรู้สึกได้ว่า เรายัง connect กันตลอดเวลา โดยในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา ทาง เดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป ได้ปรับวางกลยุทธ์ ไว้ “5 กลุยุทธ์ เราต้องรอด” คือ 1) วางแผนทางการเงิน กระแสเงินสดสำคัญมากในการบริหารจัดการ ต้องพิจารณารอบด้านทั้งด้านต้นทุนสินค้า ค่าแรง ค่าการตลาด ค่าเช่า และจะวางแผนเพิ่มยอดขายอย่างไร 2) ปรับลด / เพิ่มคน ในบางสาขา เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดและเกิดความสมดุลย์ในการให้บริการ 3) ปรับรูปแบบในการให้บริการ เช่นลดพื้นที่การบริโภคในร้าน เพิ่มการ Delivery และรับออเดอร์ทางออนไลน์มากขึ้น 4) สร้าง Brand ให้มีความยั่งยืน ผลิตสินค้าให้เหมาะกับผู้บริโภคทุกกลุ่ม เพื่อตอกย้ำการรับรู้ สุดท้ายคือเรื่อง Togetherness การพึ่งพาอาศัยกัน การแบ่งปันข้อมูล เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง เป็น 5 กลยุทธ์ เราต้องรอด ที่ทาง เดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป ได้แบ่งปันกันในครั้งนี้

ในช่วงเสวนาพูดคุยในหัวข้อ ปรับ เปลี่ยน ประยุกต์ แฟรนไชส์ในยุคดิจิทัล โดย คุณการัญญา จารุธาณินทร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท พี.โอ.พี.สยามโกลเด้น ฟรุ๊ต จำกัด แบรนด์สินค้า Mango Mania เจ้าของรางวัลสุดยอดแฟรนไชส์ไทยโกอินเตอร์ยอดเยี่ยม (BEST EXPORT FRANCHISE) ประจำปี 2563 และคุณภคมน สมบูรณ์เวชชการ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โกลเด้นครีม จำกัด แบรนด์สินค้า D’ORO เจ้าของรางวัลสุดยอดแฟรนไชส์ไทยขนาดกลางยอดเยี่ยม (BEST MEDIUM FRANCHISE) ประจำปี 2563 ได้แลกเปลี่ยนมุมมองในการบริหารจัดการองค์กรไว้อย่างน่าสนใจ

สำหรับ Mango Mania เป็นผลิตภัณฑ์สมูทตี้จากผลไม้มะม่วง มี 80 สาขาทั่วประเทศที่เน้นกลุ่มเป้าหมายชาวต่างชาติ ในจังหวัดท่องเที่ยวหลักๆ เช่น เชียงใหม่ พัทยา สมุย ภูเก็ต เป็นตัน คุณการัญญาเล่าว่า เมื่อเกิดวิกฤติโควิค-19 เราเจอผลกระทบเต็มๆ เนื่องจากกลุ่มลูกค้าในประเทศหายไป 70% ทำให้เราต้องปรับการให้บริการเป็น Delivery มากขึ้น และเพิ่มเมนูให้หลากหลาย ปรับขนาดของเครื่องดื่มให้เหมาะสมกับพฤติกรรมผู้บริโภค ใช้เวลาในการพัฒนานวัตกรรมการผลิตมากขึ้น เช่นการทำ R&D เพื่อยืดอายุวัตถุดิบและการเก็บรักษาเป็นแช่แข็งเพราะวัตถุดิบของเราเป็นผลไม้สด ทำการปรับปรุงด้านบริหารจัดการ นำเอาเทคโนโลยี และระบบเข้ามาใช้ทั้งด้านการเก็บข้อมูล การจัดการด้านต้นทุน ระบบ Inventory แรงงาน การตลาดการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค ระบบเทคโนโลยีที่เราใช้ช่วยเราได้มาก ตัวอย่างเช่น ช่วงที่เราไปเปิดสาขา ที่เวียดนาม ระบบที่เราพัฒนาช่วยให้เราสามารถเช็คและตรวจสอบยอดขาย เก็บข้อมูลลูกค้าในพื้นที่ที่เราไม่ค่อยคุ้นเคย เอามาวิเคราะห์ ทำให้เราสามารถตอบสนองความต้องการและจัดการได้อย่างตรงจุดและทันต่อสถานการณ์



“ปัจจุบันเราปรับตัวมุ่งการทำตลาดไปต่างประเทศเป็นหลัก เพราะจุดแข็งของเราคือลูกค้าชาวต่างชาติ ที่รู้จักสินค้าเราอย่างดี วิกฤติโควิด ช่วยให้เรามีโฟกัสมากขึ้นที่จะเน้นการทำการตลาดส่งออกไปต่างประเทศ เป้าหมายคือ ฮ่องกง อินเดีย แคนาดา บาฮามัส โดยใช้กลยุทธ์ไปจับมือกับพันธมิตรในพื้นที่ เป็น Master Franchise ที่จะช่วยเรากระจายช่องทางการจำหน่ายได้ครอบคลุมพื้นที่มากขึ้น เมื่อปีที่แล้ว เราได้รางวัลสุดยอดแฟรนไชส์ไทยโกอินเตอร์ยอดเยี่ยม (BEST EXPORT FRANCHISE) ประจำปี 2563 และในปีนี้ ทาง Mango Mania ตั้งใจจะไปชิงรางวัลประกวดแฟรนไชส์ ที่ประเทศอินเดีย” การัญญา กล่าวทิ้งท้าย นับเป็นอีกก้าวของความสำเร็จของ Mango Mania ในฐานะตัวแทนประเทศไทยที่พร้อมสู่เวทีสากลอีกราย

ด้านแบรนด์ D’ORO กาแฟที่อยู่คู่คนไทยมากว่า 30 ปี ตั้งแต่รุ่นบุกเบิกจากการเป็นผู้ผลิตและส่งออกเมล็ดกาแฟ จัดจำหน่ายเครื่องชงกาแฟ พัฒนามาเป็นร้านกาแฟที่วางตำแหน่งตนเองว่าคือ Everyday Coffee มี 100 กว่าสาขาหลากหลายสถานที่ อาทิ ในสถานีบริการน้ำมัน โรงพยาบาล โรงเรียน อาคารสำนักงาน เป็นต้น ซึ่งธุรกิจเจริญเติบโตจนมาถึงรุ่นทายาทผู้บริหารคนเก่ง คุณภคมน สมบูรณ์เวชชการ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โกลเด้นครีม จำกัด เล่าถึงผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงในช่วงวิกฤติโควิด-19 ว่า “จนถึงปัจจุบันเรายังไม่ได้มีการปิดสาขา เพราะว่าเราเป็นร้านกาแฟขนาดเล็กและไม่มีสาขาในห้างสรรพสินค้า เพียงแต่เราต้องบริหารงานด้วยความระมัดระวังมากขึ้น ใช้การสื่อสารให้เป็นประโยชน์มากขึ้น ทั้งกับผู้บริโภค และ พันธมิตรของเรา ตัวอย่างเช่น การให้ความรู้กับพนักงานในเรื่องของการรักษาความปลอดภัยในสุขภาพและสุขอนามัยในร้าน ซึ่งมันจะส่งผลต่อเนื่องไปถึงลูกค้าของเราที่จะได้รับบริการอย่างถูกสุขลักษณะ และมีการสื่อสารให้กับ Franchisee เพื่อให้มีความเข้าใจตรงกัน หลังร้านเราก็ต้องทำการควบคุมสต๊อก ต้นทุนค่าใช้จ่าย และแรงงาน เรา upgrade ระบบการจัดการคลังสินค้า การจัดการวัตถุดิบ ทำอย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด ทั้งในด้านการจัดส่งและจัดเก็บเพื่อควบคุมปริมาณให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม”



ภคมน ยังเพิ่มเติมอีกว่า “ช่วงโควิด ทำให้เราได้มีเวลาพัฒนาระบบ CRM เพื่อการสื่อสารกับลูกค้าในระบบสมาชิกได้อย่างดี ช่วยให้เราวางแผนเรื่องการส่งเสริมการขายให้ตรงกลุ่มมากขึ้น เช่นเราจะรักษากลุ่มลูกค้าอื่นๆ เพื่อให้อยู่กับเราอย่างไร เราต้องคิดสินค้าเพื่อตอบโจทย์ลูกค้าทุกกลุ่ม เราจึงมีโปรโมชั่นโกโก้ สำหรับคนที่ไม่ดื่มกาแฟ ขึ้นมา มีการแบ่งกลุ่มผู้บริโภคตามพฤติกรรม เช่นลูกค้ากลุ่มอาคารสำนักงานจะมาทุกวัน ซื้อไม่เยอะ แต่กลุ่มโรงพยาบาลที่มาเยี่ยมคนไข้ซื้อเยอะโดยฉพาะขนมเบเกอรี่ เพราะซื้อไปฝากกัน เราก็ต้องมาคิดเรื่องการบริหารจัดการปรับขนาด packaging ให้เหมาะสม เน้นการทำ Delivery มากขึ้นและเรามี platform ใน Shoppy เพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูกค้าอีกช่องทางหนึ่งด้วย ถึงแม้ว่าหลายธุรกิจจะประสบปัญหาแต่ของเราเมื่อต้นปีนี้ เราขยายสาขาไปได้ถึง 10 สาขา ในสถานีบริการน้ำมัน โดยเราเน้นในเรื่องการทำธุรกิจให้มีกำไรและมีความยั่งยืน” โดยผู้บริหารเจ้าของแฟรนไชส์ ทั้งสองแบรนด์ ต่างก็แนะนำให้ผู้ที่สนใจเข้ามาทำธุรกิจแฟรนไชส์ให้มากขึ้น และสนับสนุนให้เข้าสมัครประกวดรางวัล Thailand Franchise Award เพราะเป็นการช่วยให้เราได้ทบทวนธุรกิจ พัฒนาจุดแข็ง แก้ไขจุดอ่อนมีทีมที่ปรึกษาคอยเป็นพี่เลี้ยงให้เราอย่างต่อเนื่อง และถึงแม้ว่า เราจะไม่ได้รางวัลในปีนี้ ก็ถือว่าเราได้ใช้เวลานี้ในการพัฒนาธุรกิจตัวเอง ทบทวนกระบวนการขั้นตอนต่างๆของเราให้ได้มาตรฐาน เพื่อความสำเร็จที่ยั่งยืนในอนาคตต่อไป.

รางวัลฯ แบ่งเป็น 5 ประเภท รวม 13 รางวัล : คือ รางวัลธุรกิจแฟรนไชส์ไทยยอดเยี่ยมตามขนาด 3 รางวัลรางวัลธุรกิจแฟรนไชส์ไทยยอดเยี่ยมรายอุตสาหกรรม 5 รางวัลรางวัลธุรกิจแฟรนไชส์ไทยที่มีความโดดเด่นเฉพาะด้าน 2 รางวัลรางวัลสุดยอดแฟรนไชส์ไทยแห่งปี 2 รางวัลรางวัลธุรกิจแฟรนไชส์ต่างประเทศ 1 รางวัล สมัครเข้าร่วมประกวดฯ ได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 10 มิถุนายน 2564

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
กองส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
โทร. 02 574-5953, 085-535 3556, 082-954 5965
www.dbd.go.th
และดูรายละเอียดการรับสมัครได้ที่ https://bit.ly/3h66yfO
และส่งใบสมัครพร้อมเอกสารแนบมาที่
e-Mail : dbd.franchiseaward@gmail.com

วิกฤติโควิด -19 ทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างทั้งในเรื่องของ การดำเนินชีวิต เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ล้วนเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก และผลกระทบที่เกิดขึ้นนั้นส่งผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนทุกระดับ การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดจึงเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายต้องหาทางช่วยเหลือและให้ความสำคัญเป็นลำดับแรก

คุณทศพล ทังสุบุตร อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ให้ข้อมูล ตลอดระยะเวลาที่เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทั้ง 3 ระลอกที่ผ่านมา มีประชาชนและภาคธุรกิจได้รับผลกระทบด้านต่างๆ จำนวนมาก ซึ่งนโยบายจาก คุณจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า นำธุรกิจแฟรนไชส์เข้ามาช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น รวมทั้งใช้ ‘สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้’ ซึ่งได้รับความสนใจทั้งจากผู้ที่ได้รับผลกระทบฯ และผู้ที่ต้องการเป็นเจ้าของกิจการ ได้นำธุรกิจแฟรนไชส์ไปสร้างความมั่นคงด้านอาชีพและรายได้เป็นจำนวนมาก

ข่าวอื่นๆ

ROI TOOL คำนวนการคืนทุนเบื้องต้น

Total Investment งบลงทุนรวม (THB) Duration of the franchise agreement อายุสัญญา ( ใส่จำนวน ปี เช่น 3 )
Rental/ ค่าเช่า (THB)
Wage/ ค่าแรง (THB)
Material cost/ ต้นทุนวัตถุดิบ % (ใส่ค่าเป็นจำนวนเปอเซนต์ เช่น 40)
Others/ค่าใช้จ่ายอื่นๆ % ( ใส่ค่าเป็นจำนวนเปอเซนต์ เช่น 4 )
Monthly Revenue ยอดขายต่อเดือน (THB)

Payback Period ระยะเวลาคืนทุน:

My ROI is (ผลตอบแทนจากการลงทุน)

TOTAL INVESTMENT งบลงทุนรวม:
Monthly Revenue ยอดขายต่อเดือน:
Monthly Cost ต้นทุนรายเดือน:
Monthly Profit กำไรต่อเดือน:
Duration of franchise agreement อายุสัญญา:
Breakeven จุดคุ้มทุน:
ติดต่อที่ปรึกษาการลงทุนแฟรนไชส์

Line: @franzbiz
Call: 094-494-2696 / 094-552-2253