จิตวิทยาการตั้งราคาสินค้า


จิตวิทยาการตั้งราคาสินค้า
ขายยังไงให้ลูกค้ารู้สึก “คุ้ม”
ราคาเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ลูกค้าใช้พิจารณาในการตัดสินใจซื้อ ราคาที่คุ้มค่าจะดึงดูดลูกค้าได้มากขึ้น
บทความนี้เราจะมาเสนอจิตวิทยาในการตั้งราคาสินค้า เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกคุ้มค่าที่สุด! มีกลยุทธ์อะไรบ้างไปดูกันเลย
มหัศจรรย์เลข 9
ตั้งราคาสินค้าด้วยเลข 9 ทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่า “สินค้าราคาถูกลง”
เช่น สินค้าราคา 99 ราคาไม่ถึงหนึ่งร้อยบาท ทั้งๆ ที่ราคาต่างกันเพียงแค่ 1 บาท
แต่ความแตกต่าง 1 บาทในทางจิตวิทยามีมูลค่ามากกว่าทางคณิตศาสตร์
แยกค่าจัดส่ง
การซื้อสินค้าออนไลน์หลายคนมักตกหลุมกับกลยุทธ์นี้ เมื่อพ่อค้าแม่ค้าไม่ยอมลดราคา แต่เปลี่ยนเป็นคำว่า “ส่งฟรี”
หรือ “รวมส่ง” กลายเป็นการกระตุ้นให้ตัดสินใจซื้อได้ทันที
เมื่อเปรียบเทียบการขายสินค้าแบบรวมค่าจัดส่ง “200 บาท ส่งฟรี” กับแบบแยกค่าจัดส่ง “180 บาท ไม่รวมส่ง”
การตั้งราคาแบบแรก จะทำให้ราคาเปรียบเทียบในใจของลูกค้าถูกกว่า เพราะค่าจัดส่งสินค้า เป็นปัจจัยหนึ่งที่
ลูกค้าจะต้องเอาไปเปรียบเทียบกับร้านอื่นๆ จึงมีโอกาสขายได้มากกว่าทั้งๆ ที่ราคาเท่ากัน แตกต่างกันเพียงวิธีที่เสนอขาย
ราคาเปรียบเทียบ
กลยุทธ์นี้คือการตั้งราคาแบบไม่สมเหตุสมผล เพื่อให้ลูกค้าตัดตัวเลือกที่ไม่สมเหตุสมผลออกไป
และเลือกซื้อสินค้าในราคาที่ผู้ขายต้องการขาย สำหรับการตั้งราคาแบบ Decoy Pricing
เป็นการตั้งราคาอย่างน้อย 3 ราคา โดยใช้อย่างน้อย 1 ราคาเป็นราคาจูงใจ
ยกตัวอย่างเช่น ค่ากาแฟ 1 แก้ว มีขนาดเล็กราคา 35 บาท ขนาดกลาง 55 บาท ขนาดใหญ่ 60 บาท
ในมุมมองของลูกค้าขนาดเล็กราคาถูกสุดแต่ไม่คุ้มค่า สำหรับขนาดกลางและขนาดใหญ่
เพิ่มเงินเพียง 5 บาทก็สามารถได้กาแฟขนาดใหญ่แล้ว ขนาดกลางกลายเป็นราคาที่ไม่สมเหตุสมผล
ลูกค้าจึงยอมจ่ายแพงขึ้น โดยที่ยังรู้สึกว่าคุ้มค่า“
ซื้อ 1 แถม 1”
เมื่อเปรียบเทียบข้อเสนอ “ซื้อ 1 แถม 1” กับ “ลดราคา 50%” ในมุมมองของลูกค้า
การจ่ายเงินซื้อสินค้าราคาเต็ม 1 ชิ้นเพื่อรับสินค้าฟรี 1 ชิ้นนั้น คุ้มค่ากว่าการจ่ายเงินครึ่งราคาเพื่อได้รับสินค้า 1 ชิ้น
งานวิจัยด้านการตลาดชี้ว่ามนุษย์จะเลือกของฟรีมากกว่าของลดราคา เพราะมนุษย์กลัวการสูญเสีย
ถ้าเราเลือกของที่ไม่ฟรี มันมีโอกาสที่เราจะสูญเสียบางอย่าง แต่ถ้าเราเลือกของฟรี เราไม่ต้องเสียอะไรเลย
แบ่งราคาให้เล็กลง
เทคนิคนี้คือการเสนอขายสินค้าด้วยราคาที่ถูกแบ่งให้เล็กลงเช่น ราคาที่ต้องจ่ายต่อเดือนหรือต่อปี
ทั้งๆ ที่สินค้าราคาเท่าเดิม เช่น โทรศัพท์มือถือราคา 8,900 บาท จ่ายเพียงเดือนละ 890 บาทเท่านั้น
หรือ หากคุณใช้มือถือเครื่องนี้ไป 1 ปี ราคาที่ต้องจ่ายไม่ถึง 25 บาทต่อวัน
วิธีนี้จะทำให้ลูกค้านำราคาไปเปรียบเทียบกับ Reference Price ได้อีกด้วย เช่น ราคาถูกกว่าข้าว 1 มื้อ
หรือ ราคาน้อยกว่ารายได้ต่อวันมาก ทำให้ลูกค้าต้องการสินค้ามากขึ้น
ขอบคุณที่มา; จิตวิทยาการตั้งราคาสินค้า ขายยังไงให้ลูกค้ารู้สึก “คุ้ม” (thumbsup.in.th)

หากต้องการที่ปรึกษาด้านการตลาดและแฟรนไชส์ ปรึกษาแฟรนซ์บิซ ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
เตรียมตัวของคุณให้พร้อม แล้วมาลุยไปด้วยกัน!!
Inbox / comment สอบถามมาได้เลยค่ะ
โทรฝ่ายขาย 094-494-2696 / 094-552-2253
Line Official Account: @franzbiz (มีแอด)
ID Line : franzbiz
Website: www.franzbiz.com

จิตวิทยาการตั้งราคาสินค้า
ขายยังไงให้ลูกค้ารู้สึก “คุ้ม”
ราคาเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ลูกค้าใช้พิจารณาในการตัดสินใจซื้อ ราคาที่คุ้มค่าจะดึงดูดลูกค้าได้มากขึ้น บทความนี้เราจะมาเสนอจิตวิทยาในการตั้งราคาสินค้า เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกคุ้มค่าที่สุด! มีกลยุทธ์อะไรบ้างไปดูกันเลย
มหัศจรรย์เลข 9
ตั้งราคาสินค้าด้วยเลข 9 ทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่า “สินค้าราคาถูกลง” เช่น สินค้าราคา 99 ราคาไม่ถึงหนึ่งร้อยบาท ทั้งๆ ที่ราคาต่างกันเพียงแค่ 1 บาท แต่ความแตกต่าง 1 บาทในทางจิตวิทยามีมูลค่ามากกว่าทางคณิตศาสตร์
แยกค่าจัดส่ง
การซื้อสินค้าออนไลน์หลายคนมักตกหลุมกับกลยุทธ์นี้ เมื่อพ่อค้าแม่ค้าไม่ยอมลดราคา แต่เปลี่ยนเป็นคำว่า “ส่งฟรี” หรือ “รวมส่ง” กลายเป็นการกระตุ้นให้ตัดสินใจซื้อได้ทันที
เมื่อเปรียบเทียบการขายสินค้าแบบรวมค่าจัดส่ง “200 บาท ส่งฟรี” กับแบบแยกค่าจัดส่ง “180 บาท ไม่รวมส่ง” การตั้งราคาแบบแรก จะทำให้ราคาเปรียบเทียบในใจของลูกค้าถูกกว่า เพราะค่าจัดส่งสินค้า เป็นปัจจัยหนึ่งที่ลูกค้าจะต้องเอาไปเปรียบเทียบกับร้านอื่นๆ จึงมีโอกาสขายได้มากกว่าทั้งๆ ที่ราคาเท่ากัน แตกต่างกันเพียงวิธีที่เสนอขาย
ราคาเปรียบเทียบ
กลยุทธ์นี้คือการตั้งราคาแบบไม่สมเหตุสมผล เพื่อให้ลูกค้าตัดตัวเลือกที่ไม่สมเหตุสมผลออกไป และเลือกซื้อสินค้าในราคาที่ผู้ขายต้องการขาย สำหรับการตั้งราคาแบบ Decoy Pricing เป็นการตั้งราคาอย่างน้อย 3 ราคา โดยใช้อย่างน้อย 1 ราคาเป็นราคาจูงใจ ยกตัวอย่างเช่น ค่ากาแฟ 1 แก้ว มีขนาดเล็กราคา 35 บาท ขนาดกลาง 55 บาท ขนาดใหญ่ 60 บาท
ในมุมมองของลูกค้าขนาดเล็กราคาถูกสุดแต่ไม่คุ้มค่า สำหรับขนาดกลางและขนาดใหญ่ เพิ่มเงินเพียง 5 บาทก็สามารถได้กาแฟขนาดใหญ่แล้ว ขนาดกลางกลายเป็นราคาที่ไม่สมเหตุสมผล ลูกค้าจึงยอมจ่ายแพงขึ้น โดยที่ยังรู้สึกว่าคุ้มค่า
“ซื้อ 1 แถม 1”
เมื่อเปรียบเทียบข้อเสนอ “ซื้อ 1 แถม 1” กับ “ลดราคา 50%” ในมุมมองของลูกค้าการจ่ายเงินซื้อสินค้าราคาเต็ม 1 ชิ้นเพื่อรับสินค้าฟรี 1 ชิ้นนั้น คุ้มค่ากว่าการจ่ายเงินครึ่งราคาเพื่อได้รับสินค้า 1 ชิ้น
งานวิจัยด้านการตลาดชี้ว่ามนุษย์จะเลือกของฟรีมากกว่าของลดราคา เพราะมนุษย์กลัวการสูญเสีย ถ้าเราเลือกของที่ไม่ฟรี มันมีโอกาสที่เราจะสูญเสียบางอย่าง แต่ถ้าเราเลือกของฟรี เราไม่ต้องเสียอะไรเลย
แบ่งราคาให้เล็กลง
เทคนิคนี้คือการเสนอขายสินค้าด้วยราคาที่ถูกแบ่งให้เล็กลงเช่น ราคาที่ต้องจ่ายต่อเดือนหรือต่อปี ทั้งๆ ที่สินค้าราคาเท่าเดิม เช่น โทรศัพท์มือถือราคา 8,900 บาท จ่ายเพียงเดือนละ 890 บาทเท่านั้น หรือ หากคุณใช้มือถือเครื่องนี้ไป 1 ปี ราคาที่ต้องจ่ายไม่ถึง 25 บาทต่อวัน
วิธีนี้จะทำให้ลูกค้านำราคาไปเปรียบเทียบกับ Reference Price ได้อีกด้วย เช่น ราคาถูกกว่าข้าว 1 มื้อหรือ ราคาน้อยกว่ารายได้ต่อวันมาก ทำให้ลูกค้าต้องการสินค้ามากขึ้น
ขอบคุณที่มา; จิตวิทยาการตั้งราคาสินค้า ขายยังไงให้ลูกค้ารู้สึก “คุ้ม” (thumbsup.in.th)
หากต้องการที่ปรึกษาด้านการตลาดและแฟรนไชส์ ปรึกษาแฟรนซ์บิซ ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
เตรียมตัวของคุณให้พร้อม แล้วมาลุยไปด้วยกัน!!
📫Inbox / comment สอบถามมาได้เลยค่ะ
☎️โทรฝ่ายขาย 094-494-2696 / 094-552-2253
📲 Line Official Account: @franzbiz (มีแอด)
ID Line : franzbiz
🧑💻 Website: www.franzbiz.com

ข่าวอื่นๆ

ROI TOOL คำนวนการคืนทุนเบื้องต้น

Total Investment งบลงทุนรวม (THB) Duration of the franchise agreement อายุสัญญา ( ใส่จำนวน ปี เช่น 3 )
Rental/ ค่าเช่า (THB)
Wage/ ค่าแรง (THB)
Material cost/ ต้นทุนวัตถุดิบ % (ใส่ค่าเป็นจำนวนเปอเซนต์ เช่น 40)
Others/ค่าใช้จ่ายอื่นๆ % ( ใส่ค่าเป็นจำนวนเปอเซนต์ เช่น 4 )
Monthly Revenue ยอดขายต่อเดือน (THB)

Payback Period ระยะเวลาคืนทุน:

My ROI is (ผลตอบแทนจากการลงทุน)

TOTAL INVESTMENT งบลงทุนรวม:
Monthly Revenue ยอดขายต่อเดือน:
Monthly Cost ต้นทุนรายเดือน:
Monthly Profit กำไรต่อเดือน:
Duration of franchise agreement อายุสัญญา:
Breakeven จุดคุ้มทุน:
ติดต่อที่ปรึกษาการลงทุนแฟรนไชส์

Line: @franzbiz
Call: 094-494-2696 / 094-552-2253