มีเมนูให้เลือกเยอะๆ ดีจริงเหรอ?


มีเมนูให้เลือกเยอะๆ ดีจริงเหรอ? Paradox of Choice เ
มื่อการมีตัวเลือกมากเกินไป อาจทำให้ลูกค้าไม่เลือกอะไรเลย
ร้านอาหารส่วนใหญ่มักคิดว่า การที่ร้านมีเมนูอาหารเยอะๆ นั้นดีกับลูกค้า
เพราะเป็นการช่วยเพิ่มทางเลือก และทำให้ร้านมีกลุ่มลูกค้าที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น
แต่อยากจะให้ระวังให้ดีนะครับ เพราะเราอาจกำลังทำให้ลูกค้าตกอยู่ใน ‘Paradox of Choice’
‘Paradox of Choice’ คือ ปรากฏการณ์ทางจิตวิทยาที่เกิดขึ้นเมื่อเรามีทางเลือกมากเกินไป
จนทำให้เครียด สับสน ตัดใจไม่ลง รู้สึกเสียดายที่ไม่ได้เลือกตัวเลือกอื่นๆ
จนสุดท้ายอาจทำให้ตัดสินใจไม่เลือกอะไรเลย อย่างการที่ร้านมีเมนูให้เลือกเยอะไป
อาจทำให้ลูกค้าใช้เวลาในการเลือกนาน หรืออาจจะแค่ดูเฉยๆ แล้วก็เดินจากไป
เพราะเขาเลือกไม่ได้ การมีเมนูเยอะเกินไปนอกจากส่งผลกับลูกค้าแล้ว
ยังส่งผลกับร้านในหลายๆ ด้านเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของยอดขาย เมื่อลูกค้าใช้เวลานานขึ้น
ทำให้ร้านรับลูกค้าต่อวันได้น้อยลง และเสียโอกาสในการขายให้กับลูกค้าคนอื่นๆ ต้องสต๊อกวัตถุดิบมากขึ้น
ระบบครัวที่ต้องเราต้องเตรียมเพื่อรองรับทุกเมนู คุณภาพของอาหารที่อาจจะต่ำลง
เชฟเกิดความสับสนเพราะเมนูเยอะไป รวมไปถึงเรื่องการบริการที่พอลูกค้าใช้เวลาเลือกเมนูนาน
พนักงานก็ต้องรอนานมากขึ้นจนอาจกระทบกับการบริการลูกค้าโต๊ะอื่นเมนูเยอะลูกค้าก็สับสน
แต่ถ้ามีเมนูน้อยเกินไปก็เป็นการจำกัดกลุ่มลูกค้า แล้วแบบไหนละถึงจะเรียกว่าพอดี?
อันนี้ต้องขึ้นอยู่กับคอนเซ็ปต์ และประเภทร้านอาหารของแต่ละคน อย่างถ้าเราเป็นร้านอาหารไทย
ซึ่งเป็นประเภทอาหารที่ต้องมีความหลากหลาย แต่คุณกลับมีให้เลือกแค่ 30 เมนู
ก็อาจจะน้อยเกินไป แต่ในขณะเดียวกันถ้าเป็นร้านอาหารญี่ปุ่นที่ขายราเม็งแล้วมีให้เลือกถึง 50 เมนู
กว่าจะตัดสินใจเลือกได้คงตาลายแน่นอน แต่ไม่ว่าร้านจะมีกี่เมนู จงมั่นใจว่าทุกเมนูที่ใส่ลงไปนั้น
ต้องมีรสชาติที่ดีและโดดเด่นไว้จะดีที่สุด เพราะเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าลูกค้าจะเลือกเมนูไหน
และอย่าลืมหมั่นวิเคราะห์เมนูของตัวเองบ่อยๆ ด้วยนะ

หากต้องการที่ปรึกษาด้านการตลาดและแฟรนไชส์ ปรึกษาแฟรนซ์บิซ ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
โทรสอบถามฝ่ายขาย : 094-494-2696
Line Official Account : @franzbiz (มีแอด)
Facebook : Franzbiz – Thailand’s franchising company
E-mail : franzbiz@franzbiz.com
Website : www.franzbiz.com

มีเมนูให้เลือกเยอะๆ ดีจริงเหรอ? Paradox of Choice เมื่อการมีตัวเลือกมากเกินไป อาจทำให้ลูกค้าไม่เลือกอะไรเลย
ร้านอาหารส่วนใหญ่มักคิดว่า การที่ร้านมีเมนูอาหารเยอะๆ นั้นดีกับลูกค้า เพราะเป็นการช่วยเพิ่มทางเลือก และทำให้ร้านมีกลุ่มลูกค้าที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น แต่อยากจะให้ระวังให้ดีนะครับ เพราะเราอาจกำลังทำให้ลูกค้าตกอยู่ใน ‘Paradox of Choice’
‘Paradox of Choice’ คือ ปรากฏการณ์ทางจิตวิทยาที่เกิดขึ้นเมื่อเรามีทางเลือกมากเกินไป จนทำให้เครียด สับสน ตัดใจไม่ลง รู้สึกเสียดายที่ไม่ได้เลือกตัวเลือกอื่นๆ จนสุดท้ายอาจทำให้ตัดสินใจไม่เลือกอะไรเลย อย่างการที่ร้านมีเมนูให้เลือกเยอะไป อาจทำให้ลูกค้าใช้เวลาในการเลือกนาน หรืออาจจะแค่ดูเฉยๆ แล้วก็เดินจากไป เพราะเขาเลือกไม่ได้ การมีเมนูเยอะเกินไปนอกจากส่งผลกับลูกค้าแล้ว ยังส่งผลกับร้านในหลายๆ ด้านเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของยอดขาย เมื่อลูกค้าใช้เวลานานขึ้น ทำให้ร้านรับลูกค้าต่อวันได้น้อยลง และเสียโอกาสในการขายให้กับลูกค้าคนอื่นๆ ต้องสต๊อกวัตถุดิบมากขึ้น ระบบครัวที่ต้องเราต้องเตรียมเพื่อรองรับทุกเมนู คุณภาพของอาหารที่อาจจะต่ำลง เชฟเกิดความสับสนเพราะเมนูเยอะไป รวมไปถึงเรื่องการบริการที่พอลูกค้าใช้เวลาเลือกเมนูนาน พนักงานก็ต้องรอนานมากขึ้นจนอาจกระทบกับการบริการลูกค้าโต๊ะอื่นเมนูเยอะลูกค้าก็สับสน แต่ถ้ามีเมนูน้อยเกินไปก็เป็นการจำกัดกลุ่มลูกค้า แล้วแบบไหนละถึงจะเรียกว่าพอดี? อันนี้ต้องขึ้นอยู่กับคอนเซ็ปต์ และประเภทร้านอาหารของแต่ละคน อย่างถ้าเราเป็นร้านอาหารไทย ซึ่งเป็นประเภทอาหารที่ต้องมีความหลากหลาย แต่คุณกลับมีให้เลือกแค่ 30 เมนู ก็อาจจะน้อยเกินไป แต่ในขณะเดียวกันถ้าเป็นร้านอาหารญี่ปุ่นที่ขายราเม็งแล้วมีให้เลือกถึง 50 เมนู กว่าจะตัดสินใจเลือกได้คงตาลายแน่นอน
แต่ไม่ว่าร้านจะมีกี่เมนู จงมั่นใจว่าทุกเมนูที่ใส่ลงไปนั้น ต้องมีรสชาติที่ดีและโดดเด่นไว้จะดีที่สุด เพราะเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าลูกค้าจะเลือกเมนูไหน และอย่าลืมหมั่นวิเคราะห์เมนูของตัวเองบ่อยๆ ด้วยนะ
หากต้องการที่ปรึกษาด้านการตลาดและแฟรนไชส์ ปรึกษาแฟรนซ์บิซ ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
โทรสอบถามฝ่ายขาย : 094-494-2696
Line Official Account : @franzbiz (มีแอด)
Facebook : Franzbiz – Thailand’s franchising company
E-mail : franzbiz@franzbiz.com
Website : www.franzbiz.com

ข่าวอื่นๆ

ROI TOOL คำนวนการคืนทุนเบื้องต้น

Total Investment งบลงทุนรวม (THB) Duration of the franchise agreement อายุสัญญา ( ใส่จำนวน ปี เช่น 3 )
Rental/ ค่าเช่า (THB)
Wage/ ค่าแรง (THB)
Material cost/ ต้นทุนวัตถุดิบ % (ใส่ค่าเป็นจำนวนเปอเซนต์ เช่น 40)
Others/ค่าใช้จ่ายอื่นๆ % ( ใส่ค่าเป็นจำนวนเปอเซนต์ เช่น 4 )
Monthly Revenue ยอดขายต่อเดือน (THB)

Payback Period ระยะเวลาคืนทุน:

My ROI is (ผลตอบแทนจากการลงทุน)

TOTAL INVESTMENT งบลงทุนรวม:
Monthly Revenue ยอดขายต่อเดือน:
Monthly Cost ต้นทุนรายเดือน:
Monthly Profit กำไรต่อเดือน:
Duration of franchise agreement อายุสัญญา:
Breakeven จุดคุ้มทุน:
ติดต่อที่ปรึกษาการลงทุนแฟรนไชส์

Line: @franzbiz
Call: 094-494-2696 / 094-552-2253