หากพูดถึงธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก Covid ธุรกิจที่น่าจับตามองไม่แพ้ใครก็คือธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มนั่นเอง
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าอาหารและเครื่องดื่มเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อทุกคน แต่ถึงอย่างไรก็ยังได้รับผลกระทบจากวิกฤตินี้เช่นกัน
โดยดูจากสถิติการส่งออกสินค้าในกลุ่มอาหารและวัตถุดิบอาหารของทั้งปี 2563 คาดว่า จะมีแนวโน้มลดลง
จากผลกระทบโควิด-19 และสภาพเศรษฐกิจทั่วโลกที่ส่งผลให้ปริมาณการซื้อลดลง
จากสถิติก็ทำให้เห็นว่าถึงแม้จะมีวิกฤติต่างๆ อาหารก็ยังจำเป็นต่อทุกคน
แต่จะดีกว่าไหมหากอาหารมีนวัตกรรมที่ช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้ามากยิ่งขึ้นโดย Baramizi Lab
หรือศูนย์วิจัยเทรนด์และคอนเซปในอนาคต ได้จัดงานสัมมนา
ในหัวข้อ “FUTURE FOOD BUSINESS TREND 2021-22”โดยผนวก
รวมอาหารเข้ากับนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะเพิ่มทางเลือกให้แก่ผู้บริโภคได้เลือกดื่ม
และรับประทานอาหารได้อย่างที่ตรงกับไลฟ์สไตล์ โดยแบ่งเทรนด์ของอาหารในอนาคตออกเป็น 9 เทรนด์
1. Immunity Boosting กินเพื่อเสริมภูมิคุ้มกัน
เนื่องจากวิกฤติโควิด-19 ระบาด จึงเริ่มหาอาหารที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
โดยข้อมูลจาก Google Trends ในช่วงโควิดระบาดหนักระลอกแรกคนเสิร์ชหา
อาหารเพื่อสร้างภูมิคุ้นกันมากถึง 670% อีกทั้งตลาดอาหารเสริมต่างๆ ก็มียอดขายที่พุ่งสูงขึ้น
2. Personalized Nutrition โภชนาการเฉพาะบุคคล
เพราะความต้องการของมนุษย์ที่แตกต่างกัน โดยมีการวิจัยว่าร่างกายของแต่ละคน ด้วยปัจจัยทางพันธุกรรม
สภาพแวดล้อม มีความสัมพันธ์กันอย่างมาก ดังนั้นจึงได้มาอาหารที่ออกแบบให้เหมาะสมกับร่างกายของแต่ล่ะบุคคล
โดยคำนึงจากการใช้ชีวิต สารอาหารและสุขภาพ
3. Well-Mental Eating กินเพื่อสุขภาพทางจิตใจ
ในวิกฤติการแพร่ระบาดที่เกิดขึ้น ส่งผลกระทบต่อจิตใจของคนเป็นอย่างมาก
ดังนั้นเทรนด์อาหารที่ช่วยฟื้นฟูจิตใจรวมไปถึงบำรุงร่างกายด้วยก็นับว่าเป็นอาหารที่คนต้องการอยู่พอสมควรในเวลานี้
4. Gastronomy Tourism หรือ Food Tourism ท่องเที่ยวสายกิน
ในยุคที่สามารถค้นหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว การค้นหาร้านอาหารที่โดนใจ
คือพฤติกรรมกระแสหลักของนักท่องเที่ยวกว่า 53% เลือกที่เที่ยวจากอาหารและเครื่องดื่ม
การท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ เพื่อค้นหาวัฒนธรรมผ่านอาหารในท้องที่นั้นๆ
จึงเรียกได้ว่าอาหารและเครื่องดื่มที่โดนใจคือแรงขับสำคัญในการเลือกสถานที่ท่องเที่ยวเลยล่ะ
5. Elderly Food อาหารการกินของวัยเก๋า
ในยุคปัจจุบัน ผู้สูงอายุมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยคาดการว่าในปี 2050 จะมีอัตราคนอายุ 65 ปีขึ้นไปถึง 14% ของประชากรทั้งหมด
ซึ่งอาหารที่จำเป็นต่อวัยผู้สูงอายุคืออาหารประเภทย่อยง่ายและคำนึงถึงสารอาหารที่บำรุงต่อร่างกายเป็นหลัก
6. Shared Kitchen ครัวที่แชร์กันมากขึ้น โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
Cloud Kitchen ครัวเช่าสำหรับธุรกิจอาหาร : เติบโตด้วยธุรกิจ Delivery
ซึ่งเป็นการเปิดพื้นที่ให้เช่าครัวสำหรับประกอบธุรกิจผลิตอาหารและส่งต่อให้ Food Delivery โดยเฉพาะ
Co-Cooking Kitchen พื้นที่สร้างสรรค์อาหารจานโปรด : ครัวเพื่อการฝึกฝน ทดลอง สร้างสรรค์
และสังสรรค์ เนื่องจากพื้นที่บ้านของแต่ละคนไม่เอื้ออำนวยต่อเครื่องครัวที่ดี
จึงทำให้มีการเปิดพื้นที่ครัวนี้ขึ้นเพื่อให้คนได้เข้ามาพัฒนาทักษะ รวมทั้งปรุงอาหารเพื่อสังสรรค์และเพื่อธุรกิจอีกด้วย
7. Biodiverse Dining กินเพื่อความหลากหลายทางชีวภาพ
เทรนด์นี้ถูกสร้างขึ้นเพราะได้เล็งถึงปัญหาของการใช้ทรัพยากรเกินขีดจำกัดจึงส่งผลให้สิ่งมีชีวิตหลากหลายสปีชีส์เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์
ดังนั้นจึงต้องการให้มนุษย์บริโภคอาหารที่มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น
ซึ่งเป็นผลดีต่อสิ่งมีชีวิตที่ถูกมนุษย์บริโภคและต่อร่างกายมนุษย์เองที่ได้รับสารอาหารที่หลากหลายมากขึ้น
8. Food Waste Rescue แก้ปัญหาขยะอาหาร
อาหารที่มนุษย์รับประทานอยู่ในทุกๆ วัน โดยจะมีอาหารที่ไม่ได้ถูกกินอยู่ราว 33-50% ซึ่งจะกลายเป็นขยะในอนาคต
ซึ่งวิธีการแก้ปัญหานี้คือการเลือกที่จะนำอาหารเหลือทิ้งกลับมาปรุงอาหารใหม่ หรือนำไปทำเป็นปุ๋ยหมักสำหรับการเกษตร
9. NewTrition โภชนาการรูปโฉมใหม่
เนื่องจากผู้คนเริ่มนึกถึงการขาดแคลนทรัพยากรอาหารและสวัสดิภาพสัตว์มากยิ่งขึ้น
จึงก่อให้เกิดกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งขึ้นมาคือ วีแกน(Vegan) คือผู้ที่เลือกจะรับประทานอาหารจากพืชเท่านั้น
โดยถือคติไม่บริโภคอาหารที่มาจากสัตว์และเลือกบริโภคแต่อาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพเท่านั้น
และอาหารที่ไม่ได้ผลิตจากสัตว์แต่ใช้โปรตีนจากพืชทดแทนก็ตอบโจทย์ได้ดีมากเลยทีเดียว
ขอขอบคุณข้อมูลจาก :
https://www.cea.or.th/th/single-statistic/future-food-trend-2021
https://techsauce.co/pr-news/food-and-beverage-industries-around-the-world
โทรสอบถามฝ่ายพัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ ปรึกษาฟรี: 094-552-2253/ 094-494-2696
Line Official Account: @franzbiz (มีแอด)
Facebook: Franzbiz – Thailand’s franchising company
E-mail: franzbiz@franzbiz.com
Website: www.franzbiz.com